ชวนอ่านหนังสือออนไลน์พุทธศาสนากับสังคมไทย โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
แจ้งภายหลัง
Online Event
อนุโมทนาบุญ 1 , View 1,782
จัดทำโดย
นางสาวปิยะมาศ แซ่ปัง
ข้อมูลรายละเอียด

พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนหลักอปริหานิยธรรมไว้ ๗ ประการ เริ่มตั้งแต่ให้ประชุมกันเนืองนิตย์ คือประชุมกันอย่างสม่ำเสมอ เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม เมื่อมีกิจที่กระทำเป็นของส่วนรวมก็พร้อมเพรียงกันทำ ให้ยึดมั่นในวัชชีธรรมไม่ล้มล้าง ถ้าเรียกอย่างในปัจจุบันก็คือให้ยึดมั่นในหลักรัฐธรรมนูญอะไรทำนองนี้ เทียบกันได้ ในสมัยนั้นเรียกว่า หลักวัชชีธรรม

หลักอปริหานิยธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสำหรับพวกวัชชี ถ้าพวกวัชชียังยึดหลักเหล่านี้อยู่ ก็มีความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน เมื่อมีความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน ก็ยังมีความมั่นคงเข้มแข็งไม่มีทางเสื่อม ใคร ๆ เอาชนะไม่ได้ ซึ่งก็ปรากฏว่าเป็นเช่นนั้นจริง ในระยะที่พวกวัชชีมีความสามัคคีพร้อมเพรียงกันอยู่อย่างนี้ พวกมคธก็ไม่กล้ายกทัพไปตี ทั้ง ๆ ที่มีกองทัพมากมายมหาศาล จนต้องใช้วิธีให้เกิดความแตกแยกสามัคคีกันก่อน จึงยกทัพไปรุกราน จึงได้รับผลสำเร็จสมปรารถนา นี้เป็นแง่ของระบบประชาธิปไตย หรือแม้สามัคคีธรรมแบบสมัยโบราณ ซึ่งหลักสำคัญก็คือ อยู่ได้ด้วยความสามัคคี และความมีระเบียบวินัย ซึ่งจะมั่นคงได้ก็เพราะอาศัยความไม่เห็นแก่อามิส แต่เห็นแก่ธรรม เห็นแก่ความถูกต้องดีงามและประโยชน์สุขส่วนรวม เป็นฐานรองรับ อีกชั้นหนึ่ง

หนังสือ พุทธศาสนากับสังคมไทย
โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
หน้า ๓๒ - ๓๓

สามารถอ่านหนังสือเพิ่มเติมได้ที่:
https://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/buddhism-and-thai-society.pdf

หรือสามารถเลือกอ่านเล่มอื่นได้ที่:
https://book.watnyanaves.net/index.php?floor=long-gone

ข้อมูลที่น่าสนใจ
สมาชิกผู้เข้าร่วมอนุโมทนาบุญ (1)
นายวฤณสิทธิ์ สัมฤทธิ์จินตนา
07 พฤศจิกายน 2563 : 11.39 น.
ผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น
ความรู้สึก
เชิงบวก
0.00%
จากความเห็นทั้งหมด
ความรู้สึก
ไม่บวกไม่ลบ
0.00%
จากความเห็นทั้งหมด
ความรู้สึก
เชิงลบ
0.00%
จากความเห็นทั้งหมด
งานบุญยอดนิยม
สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ , กรุงเทพมหานคร
แชร์งานบุญ
คลิกที่นี่